๑๒/๐๘/๒๕๕๐

เทคนิคการสืบค้น

การสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine
ในโลกของ Internet ข้อมูลมีมากมายเหลือเกิน ถ้าจะใช้เวลาในการอ่านทุกสิ่งบน Internet คงต้องใช้เวลาหลายชั่วอายุคน จริงแล้วเราคงไม่มีความสนใจในทุกเรื่อง แต่คงสนใจเฉพาะเรื่องที่เราสนใจเท่านั้น จึงมีคนคิดเครื่องมือในการช่วยค้นหาข้อมูลที่ต้องการ นั้นก็คือ Search Engine นั่นเอง

การค้นหาข้อมูลมีกี่วิธี ?
1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine


1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีขิง Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง

2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Indexลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา


ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine
คำตอบก็ คือวิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index เค้าจะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มี หน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่งเจ้า Software ตัวนี้จะมี ชื่อเรียกว่า Spiders การทำงานข้องมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึงกันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้นมักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั้งค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็นวันๆแน่ ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่ ดังนั้นจิงมีหลักในการค้น หา เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งจะขอกล่าวในตอนหลัง

หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Enine
สำหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนำเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้
1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ
2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง
3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta)
4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site
5. ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser การค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บเพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ

การค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine
1. Click ที่ปุ่ม Serch บนแถบเครื่องมือหรือ click ที่ menu Edit แล้วเลือกคำสั่ง Search Internet ก็จะปรากฏหน้าจอ
2. เลือก Search Engine ที่คุณต้องการ
3. ใส่คำที่คุณต้องการจะค้นหาลงไปในช่องยาวๆ (text box) ที่มีสร้างเอาไว้ให้
4. คลิ๊กที่ปุ่ม Seek (กรณีเลือก Search Engine ที่อื่นอาจจะไม่ได้ใช้คำนี้ก็ได้แล้ว แต่ที่คุณเลือกโปรแกรมจะเริ่มค้นหาคำนั้นๆให้ ตอนนี้คุณก็รอสักพักนึงก่อน จากนั้นรายชื่อของเว็บเพจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ระบุจะถูกแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบนิดหน่อย ให้เราอ่านเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่ามันเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เราต้องการหรือเปล่า ส่วนใหญ่ข้อมูลที่พบมีมากจนเกินกว่าที่จะแสดงให้เห็นหมดในหน้าเดียว มันจะมีตัวแบ่งหน้าให้เราทางด้าน ล่างสำหรับเลือกไปดูรายละเอียดส่วนอื่นๆที่เหลือในหน้าถัดๆไป แต่โดยมากแล้วข้อมูลที่ใกล้เคียง กับคำที่เราต้องการมากที่สุดจะอยู่ในช่วงต้นๆ ของรายการแรกที่ Search Engine นั้นๆตรวจพบ

เทคนิค 8 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล

ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆก็คงจะหนีไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความสะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือจำกัดคำที่ค้น หาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด

1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine

2. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพธ์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ)

3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่นการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใหล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่าพอใจกว่า

4. ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเรา ต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น "free shareware" เป็นต้น

5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ตัว อักษรใหญ่แทน

6. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ - AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager เป็นต้น - OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง - NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น

7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ - (ลบ)ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ () ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น (pentium+computer)cpu

8. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่สนใจ *tor เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ




เทคนิคการค้นหา
การใช้งานใน Search Engine ไม่ว่าจะเป็น Google หรือ Yahoo เองจะมีลักษณะการใช้งานไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก แต่ผลลัพธ์อาจได้ไม่ตรงกัน ทั้งนี้ขึ้นกับความสำคัญในการจัดเก็บของแต่ละเว็บ อย่างไรก็ตามเรามาศึกษาในแต่ละวิธีก่อนดีกว่า
วิธีการค้นหาข้อมูล
1. เข้าไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น Google.com
2. พิมพ์ข้อความลงในช่องว่างที่มี ตัวอย่างเช่น "software computer"
3. คลิกปุ่ม "ค้นหาโดย Google"
4.อ่านรายละเอียด และคลิกเลือกเว็บไซต์ที่ต้องการ
5. ถ้าต้องการค้นหาเฉพาะรูปภาพ ให้คลิกเลือกหัวข้อด้านบน "รูปภาพ"

เทคนิคการค้นหา(ต่อ)
ค้นหาข้อมูลให้ลึกมากขึ้น และละเอียดมากขึ้นตัวอย่าง เช่น ต้องการค้นหา Computer ยี่ห้อง Apple ในช่อง search ให้ใส่คำว่า "computer +Apple" การแสดงผลจะแสดงผลในช่วงต้นๆ และมีคำว่า computer และคำว่า Apple ประกอบกันด้วย ค้นหาโดยแบบละเอียด (advance search) โดยคลิกที่คำว่าด้านข้าง "ค้นหาแบบละเอียด" ได้ดังภาพประกอบด้านบน เราสามารถสั่งให้ค้นหาข้อความที่มีคำที่ต้องการ บางส่วนของคำ หรือระบุว่าไม่ให้มีคำๆ นี้ได้ด้วย ซึ่งเทคนิคนี้จะหลายๆ search engine ก็จะมีเทคนิคนี้ด้วยเช่นกัน...


เทคนิคการค้น Internet Search Engines ชนิดต่างๆ
เทคนิคการค้น Search Engines ชนิดต่างๆ มีหลักเกณฑ์ทั่วไปคล้ายคลึงกัน คือ สามารถค้นแบบง่ายๆ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า "Natural Language Searching" ก็ได้ หรืออาจใช้ชุดคำค้นที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยใช้ "Boolean Expressions" เข้าช่วยก็ได้(คำว่า "Boolean" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ George Boole นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ในศตวรรษที่ 19 ผู้เสนอแนวความคิดว่า logical thought สามารถอธิบายได้โดยใช้หลัก algebra) Sites บางแห่ง ให้บริการในลักษณะ Muliple Search Engines (Meta Search Engines) คือ สามารถค้นข้อมูลจาก Search Engines หลายๆ ชนิดได้พร้อมกันในคราวเดียว ได้แก่ Metacrawler, SavvySearch, Dogpile เป็นต้น


1. ใช้เครื่องหมาย + นำหน้าคำที่ต้องการให้ปรากฏในผลการค้น เช่น +multimedia +material
ใช้เครื่องหมาย - นำหน้าคำที่ไม่ต้องการให้ปรากฏในผลการค้น เช่น +thailand -education
2. ใช้เครื่องหมายคำพูด " .. " คร่อมวลี เพื่อให้ค้นตรงตัว เช่น "multimedia materials"
3. ใช้เครื่องหมาย * ต่อท้ายคำ เพื่อให้ค้นคำทั้งหมด ที่เริ่มต้นด้วยอักษรดังกล่าว เช่น material*
4. ใส่ตัวเชื่อม operator u: หน้าคำที่ต้องการค้น เพื่อจำกัดให้ค้นจาก Web Address (หรือ URLs) เท่านั้น เช่น u:mahidol
5. ใส่ตัวเชื่อม operator t: หน้าคำที่ต้องการค้น เพื่อจำกัดให้ค้นจากชื่อ (Document Titles) เท่านั้น เช่น ต้องการค้นหา WebSites ที่เกี่ยวกับ Mahidol University t:mahidol university
6. การใช้ตัวเชื่อมหลายชนิดผสมกัน เช่น ต้องการค้นหา WebSites ทั้งหมด ที่เป็นหน่วยงานของรัฐในประเทศไทย (.go.th) แต่ไม่ต้องการ คำว่า Health ไม่ว่าจะอยู่ใน Web Address (URLs) หรือใน Document Titles +u:.go.th -t:health -u:health





Basic Search
สามารถค้นในลักษณะ "natural language searching" ได้ โดยการพิมพ์คำต่างๆ ลงไป โดยตรง ตัวอย่างเช่น picture of the sphinx restaurants in Washington, DC NASA space shuttle program โปรแกรมจะทำการค้นหา Web Pages ที่ประกอบด้วยคำทั้งหมด อย่างน้อย 1 คำ แต่จะแสดงรายชื่อ Web Pages ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดก่อน (ประกอบด้วยคำทั้ง 4 คำ) โดยแจ้งปริมาณความเกี่ยวข้องเป็น % ให้ด้วย และเรียงลำดับที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ลงไปจนถึงน้อยที่สุด ซึ่งเป็น WebPages ที่เกี่ยวข้องเฉพาะคำว่า NASA หรือ space หรือ shuttle หรือ program อย่างใดอย่างหนึ่ง(มีผลเช่นเดียวกับการใช้ boolean operator OR ดังนี้ NASA OR space OR shuttle OR program) Advanced Searching
เป็นการค้นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการใช้ boolean operators ต่างๆ ดังนี้

1. การเชื่อมคำด้วย AND, OR, NOT (พิมพ์ตัวเล็กหรือใหญ่ก็ได้)
2. การบังคับค้น โดยใส่เครื่องหมาย + หน้าคำที่ต้องการ หรือเครื่องหมาย - หน้าคำที่ไม่ต้องการ เช่น +san +francisco -restaurants -hotels (พิมพ์ +,- ให้ติดกับคำ และวรรคระหว่างคำ)
3. การพิมพ์ให้เป็นวลี โดยใช้เครื่องหมายคำพูดคร่อม เช่น "animal magnetism" ซึ่งจะมีความหมายเช่นเดียวกันกับ animal ADJ magnetism คือทั้งสองคำอยู่ติดกัน แนะนำให้ใช้เวลาต้องการค้นชื่อบุคคล เช่น "Bette Davis"ในกรณีที่เชื่อมคำหลายๆคำ ด้วย operator ที่แตกต่างกัน ควรใส่วงเล็บด้วย เช่น Homer NOT (Simpson OR Alaska) หมายถึงให้ค้นชื่อ Homer ยกเว้น Homer Simpson กับ Homer Alaska ตัวอย่างการค้น เกี่ยวกับ PC operating systems ที่ไม่ใช่ Microsoft Windows ของ Bill Gates เขียนชุดคำค้นดังนี้
"PC operating systems" -windows -microsoft -"Bill Gates"

Basic Search
พิมพ์คำค้นต่างๆ ลงไปตามต้องการ ตัวอย่างเช่น recipe oatmeal raisin cookies
โปรแกรมจะค้นในลักษณะ "natural language searching" ซึ่งผลการค้นที่ได้จะมีจำนวนมาก แต่จะแสดงผลการค้น ที่ตรงที่สุดขึ้นมาก่อน (ได้แก่ WebPages เกี่ยวกับ recipes for oatmeal raisin cookies ประกอบด้วยคำทั้ง 4 คำ ) จากนั้นจะเรียงลำดับความเกี่ยวข้อง ลดหลั่นกันลงไป
พิมพ์คำค้นในลักษณะวลี (phrase) ได้ โดยใส่เครื่องหมายคำพูดคร่อม เช่น "you ain't nothing but a hound dog" หรือใส่เครื่องหมาย dashes, underscore lines, commas, slashes, dots แทนได้ เช่น 1-800-999-9999
เลือกค้น Webpage ที่เขียนเป็นภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษได้ โดยใช้ Language pull-down menu
การพิมพ์คำค้นด้วยอักษรตัวเล็ก เช่น paris โปรแกรมจะค้น Paris, paris, PARIS แต่ถ้าพิมพ์ตัวใหญ่ เช่น Paris โปรแกรมจะค้นตรงตัวสะกดว่า Paris เท่านั้น
ระบุให้ค้น หรือไม่ค้นคำได้ โดยการใช้เครื่องหมาย +, - นำหน้า เช่น recipe cookies +oastmeal -raisin
ใช้เครื่องหมาย wildcards (*) ต่อท้ายคำ เพื่อให้ค้นคำอื่นๆ ที่เพิ่มด้วย เช่น wish* หมายถึง ให้ค้น wish, wishes, wishful, wishbone เป็นต้น
ให้โปรแกรมค้นคำที่ต้องการ จากบริเวณส่วนอื่นๆ ของ WebPages นอกเหนือจาก text ได้ ดังนี้ anchor:text ค้น WebPages ที่มีคำหรือวลี ที่เป็น hyperlink ตัวอย่างเช่น
anchor:"Click here to visit AltaVista"
domain:domain name ค้น WebPage ทั้งหมด ใน domain ตัวอย่างเช่น
domain:th หรือ domain:org
host:name ค้น Pages ใน host computer เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เช่น
host:www.mahidol.ac.th
image:filename ค้นหา Pages ที่มีรูปภาพ ซึ่งมีชื่อ filename นั้น เช่น
image:elvis
link:URL text ค้นหาว่า มี Pages ใดบ้าง ที่ทำ link มายัง URL นั้น เช่น
link:stang.li.mahidol.ac.th
text:text ค้น Pages ที่มีคำนั้น ในส่วนใดส่วนหนึ่งภายในเนื้อหาของ Page
ยกเว้นส่วนของ image tag, link และ URL เช่น
text:Thailand
title:text ค้น Pages ที่มีคำหรือวลีนั้น อยู่ในส่วนของชื่อ (Title) เช่น
title:"Mahidol Library"
url:text ค้น Pages ที่มีคำนั้นๆ ในชื่อ Web (URL) เช่น
url:mahidol


Advanced Search
การค้น AltaVista โดยปกติแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ Advanced Search นอกจากในกรณีที่ต้องการค้นโดยระบุช่วง วัน/เดือน/ปี หรือถ้าต้องการค้นโดยใช้ Boolean Operator ต่างๆ เท่านั้น เช่น

AND หรือใช้สัญลักษณ์ &
OR หรือใช้สัญลักษณ์
NOT หรือใช้สัญลักษณ์ !
NEAR หรือใช้สัญลักษณ์ ~

การใช้เครื่องหมาย +,- นำหน้าคำ ใช้ไม่ได้ใน Advanced Search
http://thana-za.exteen.com/20071123/search-engine-1

๑๑/๐๔/๒๕๕๐

I AM DEAR

Hello / ohayo / nhee hao
I am 23 years old. My birthday is 2 January 1984. I am working as an English teacher at Sattha Samut School. In my freetime, I like watching movies and Korea drama such as Resident Evil, Princes Hours, Full house and I like drawing pictures. My fravorite star is Vic (Jai Jai).